เครื่องบินเล็กเช่นเดียวกัน ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอดีต สร้างความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินของนักบินเอง รวมถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับอันตรายจากการบินเครื่องบินเล็ก ก็เคยเกิดขึ้น
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบินเครื่องบินเล็กทุกคน ควรจะคำนึงถึง กฏ กติกา มารยาท และวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น อย่างเคร่งครัด อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อ กิจกรรมการบินของสมาชิกทั้งมวล ในทันที หากไม่อยากให้เครื่องบินเล็กเป็นงานอดิเรกที่สังคมมองว่าอันตรายแล้ว ล่ะก็ มาปฏิบัติตามนิรภัยการบินเครื่องบินเล็กฯ กันเถอะครับ
นิรภัยการบินเครื่องบินเล็กฯ หมายถึง การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมการบินเครื่องบินเล็กฯ ซึ่งจะส่งผลให้เกิด อันตราย และความเสียหาย ต่อชีวิต และทรัพย์สินของนักบิน และบุคคลอื่น
ซึ่งมีประโยชน์ และใช้อธิบายการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างดียิ่ง
H.W. HEINRICH นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน “บิดาแห่งการป้องกันอุบัติเหตุวงการอุตสาหกรรม” กล่าวถึง
ลำดับในการเกิดอุบัติเหตุ “การบาดเจ็บในวงการอุตสาหกรรม เป็นผลที่เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งมีช่วงลำดับที่แน่นอน และองค์ประกอบสุดท้ายก็คือ อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บนั่นเอง ส่วนอุบัติเหตุก็มีสาเหตุโดยตรงจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของบุคคล และ / หรือการขัดข้องของอุปกรณ์ "
สรุปว่า มี ๕ องค์ประกอบ ซึ่งเกิดลำดับต่อเนื่องดังนี้
1. ลักษณะตกทอดจากบรรพบุรุษ เช่น ความดื้อรั้น มุทะลุ ความประมาท ความโลภ อารมณ์รุนแรง ความตื่นเต้น ตกใจง่าย อาการทางประสาท เป็นต้น แม้ว่าบุคคลนั้นจะได้รับการฝึก อบรม มาเป็นอย่างดีก็ตาม
2.ความบกพร่องส่วนบุคคล พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลเสียกับการบิน เช่น ทำการบินด้วยความประมาท การที่มีอารมณ์รุนแรง ตื่นตระหนกง่าย ขาดความยั้งคิด ทำให้การกระทำบางอย่างลงไปโดยไม่คำนึงถึงหนทางปฏิบัติที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องไปจนอาจทำให้เครื่องมือ อุปกรณ์เกิดขัดข้องได้
3.การกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพที่ไม่ปลอดภัย
4.เกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์หรือลำดับเหตุการณ์ เช่น นักบินหลงสภาพการบิน เครื่องบินชนสิ่งกีดขวาง เครื่องบินตก
5.การบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ของบุคคล
ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 5 เปรียบเสมือน โดมิโน ที่ล้มจากตัวที่ 1 ทับกันมา 2,3,4 จนทำให้ ตัวที่ 5 ล้มด้วย
แต่ถ้าดึงตัวที่ 3 ออก โดมิโนตัวที่ 4 และ 5 ก็จะไม่ล้ม
นิรภัยการบินเครื่องบินเล็ก คือโดมิโน ตัวที่ 3 หากสามารถปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน อุบัติเหตุก็จะไม่เกิดขึ้น
ข้อปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุจากการดำเนินกิจกรรมเครื่องบินเล็กฯ
1 .หลักการทำงานของเครื่องบิน เครื่องบินบางลำ อาจจะถูกออกแบบการควบคุมมาไม่เหมือนกันซะเดียว ดังนั้นก่อนจะทำการบิน ควรศึกษาหลักการทำงานของเครื่องบินลำนั้นก่อน อย่าคิดว่าคงเหมือนกันกับเครื่องบินลำที่เคยบิน หรือลำอื่นๆ
2. คุณสมบัติของเครื่องบิน ควรตรวจสอบให้ละเอียด อย่าให้มีส่วนหนึ่งส่วนใดของ ส่วนประกอบบกพร่อง การตรวจสอบที่ภาคพื้นดิน อาจจะทำงานได้บ้าง เมื่อบินขึ้นไปแล้วอาจะหยุดการทำงานไปก็ได้ ดังนั้นอุปกรณ์ทุกอย่าง และส่วนประกอบทุกส่วน ต้องสมบูรณ์ 100 %
3. ความถี่ของอุปกรณ์ควบคุม วิทยุ(Remote Control) ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าความถี่วิทยุ จะไม่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์ของบุคคลอื่น เช่นบินในสนามมาตรฐานต้องได้รับไม้หนีบแสดงความถี่ จากเจ้าหน้าที่ควบคุมความถี่ของสนามก่อน จึงจะเปิดวิทยุได้ และคืนไม้หนีบทุกครั้งที่ปิดวิทยุ เพื่อความสะดวกในการใช้ความถี่ร่วมกันกับบุคคลอื่น หรือหากบินตามสนามทั่วไป ต้องตรวจสอบว่ามีบุคคลอื่นเปิดวิทยุอยู่ก่อน และมีความถี่ที่จะก่อให้เกิดการรบกวนกันหรือไม่ เมื่อตรวจสอบ จนชัดเจนว่าไม่ซ้ำกันแล้ว จึงเปิดวิทยุ (กรณีความถี่ 2.4 GHz ก็ควรจะแจ้งให้เพื่อนสมาชิกที่บินในสนามเดียวกันทราบด้วย ถ้าเปิดวิทยุแล้วเกิดการรบกวนทั้งที่ความถี่ไม่ตรงกัน ให้รีบปิดวิทยุทันที เพราะ อาจจะเกิดจากความบกพร่องของวิทยุ เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่ก่อให้เกิดความถี่เงา มารบกวนการทำงานได้
4. ตรวจสอบการทำงานของระบบการควบคุม โดยเปิด Remote Control ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ทุกช่องการควบคุมบนเครื่องบิน ว่าทำงานถูกต้อง และเป็นปกติหรือไม่ ในเครื่องบินขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ Servo ที่กินกระแสสูง ต้องตรวจสอบการกินกระแสของ Servo ทุกตัวว่าเป็นปกติหรือไม่ เมื่อโยก Stik ไปจนสุด การขยับของ Arm Servo ไปยังจุดสุดท้าย (End point ) จะต้องไม่ถูกกด หรือฝืน เพราะจะทำให้มอเตอร์ใน Servo ทำงานหนัก กินกระแสสูง การขยับของลวดคันชักต้องลื่นไหลไม่ฝืด
กรณีเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ ให้ตรวจสอบการเดินเบาของเครื่อง และการเร่งเครื่องในรอบสูงสุดด้วยว่าเกิดปัญหาหรือ ที่สำคัญคือ Throttle cut จะต้องทำให้เครื่องยนต์ ดับได้
ความถี่อื่นๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับสนามบิน ควรคำนึงถึงด้วย ซึ่งอาจจะมารบกวนสัญญาณวิทยุของเราได้
5. สนามบินที่ปลอดภัย สถานที่บินเครื่องบินเล็กที่ดี หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลอื่น เป็นธรรมดาหากเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินของเราต้องพัง แต่ก็เกิดขึ้นจากฝีมือของเราเอง เกิดจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสุขกับเรา การซ่อมเครื่องบิน เป็นเรื่องที่เราเต็มใจอย่างยิ่งที่จะซ่อม เพื่อให้เครื่องบินลำโปรดได้กลับมาบินได้อีกครั้ง แต่ถ้าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้ชีวิต และทรัพย์สินของคนอื่นที่ไม่ได้ มีความสุขกับการบินของเราเลย เสียหายไปด้วย เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวนะครับ ดังนั้น การเลือกสนามบินที่พื้นสนามไม่ดีนัก แต่แนวการบินปลอดภัย ย่อมจะดีกว่า สนามพื้นเรียบ แต่แวดล้อมไปด้วยบ้านเรือน
6. ครูฝึก หรือผู้ช่วยนักบิน ขณะควบคุมเครื่องบินเล็กควรจะมี Copilot หรือผู้ช่วย โดยเฉพาะมือใหม่ ควรจะมีครูฝึกที่สามารถแก้ไขสถานะการคับขันให้ได้ แม้แต่นักบินที่บินมานานแล้ว ก็ควรที่จะมี Copilot ช่วยในการบิน เพราะขณะที่ควบคุมเครื่องบินเล็ก สายตา และสมาธิต้องจดจ่ออยู่กับเครื่องบิน สิ่งแวดล้อมอื่นรอบข้าง ที่เป็นอันตรายต่อการบิน Copilot จะเป็นผู้แจ้งให้นักบินทราบ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการควบคุมเครื่องบิน ในการแข่งขันเครื่องบินเล็กฯ กติกาจะระบุให้นักบินต้องมี Copilot ทุกรายการแข่งขัน
7. แนวการบินที่ปลอดภัย การควบคุมเครื่องบินเล็กโดยทั่วไป นักบินต้องมองเห็นเครื่องบินอย่างชัดเจน ดังนั้นก่อนทำการนำเครื่องบินขึ้นบิน ไม่ว่าที่สนามมาตรฐาน หรือสนามส่วนตัว นักบินต้องกำหนดแนวการบิน หรือเส้นทางการบินในเที่ยวบินนั้นให้ชัดเจนก่อน ในสนามมาตรฐานคงไม่มีปัญหาเรื่องนี้เพราะคงกำหนดแนวการบินที่ปลอดภัย นักนักบินทุกคนรับทราบแล้ว ส่วนสนามทั่วไป หรือสนามส่วนตัวเรื่องนี้สำคัญมาก นักบินควรสำรวจสิ่งแวดล้อม และกำหนดแนวการบินที่ปลอดภัยก่อนนำเครื่องบินขึ้นบิน และควรบินตามแนวการบินที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
หรือจะกำหนดแนวการบินที่ปลอดภัย อย่างง่ายๆ สำหรับตนเองดังนี้ จะต้องควบคุมเครื่องบินให้บินอยู่ด้านหน้าของตนเอง โดยไม่บินเข้ามาใกล้ตนเองเกินกว่าแนวที่กำหนดไว้
โปรดติดตาม ต่อไป