ดังนั้นผมจึงได้รวบรวมประสบการณ์ที่พอจะเป็นประโยชน์ สำหรับการเตรียมการก่อนการ บินครั้งแรกของเครื่องบินลำใหม่เอี่ยม มาไว้ที่นี่
ขอเป็นแบบ 4 แชลแนลก่อนนะครับ ส่วน 2 แชลแนลเลื่อนลงไปล่างสุดเลยครับ
ก่อนจะมา set up เครื่องบินของเราให้บินไปในอากาศตามต้องการ สำหรับมือใหม่ ควรทำความเข้าใจในเรื่องของ CG. สำหรับเครื่องบินเล็ก กันเล็กน้อย เรื่องนี้สำคัญมา เพราะหลายท่านที วิเคราะปัญหาไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถนำเครื่องบินขึ้นบินได้ ลองแล้ว ลองอีกจนเครื่องบินลำใหม่เอี่ยม ต้องมาพังยับเยิน ไปซะก่อน
CG. คือจุดศูนย์กลางของน้ำหนักของเครื่องบิน ที่โลกดึงดูดเครื่องบิน ให้ร่วงลงสู้พื้นโลก ในเครื่องบิน 1 ลำจะมีจุดนี้อยู่จุดเดียว ส่วนจะอยู่ตรงไหนของเครื่องบิน ขึ้นอยู่กับลักษณะของปีกของเครื่องบินลำนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตเครื่องบินจะ ระบุมาให้แล้วว่า CG. ของเครื่องบิน ลำนั้น อยู่ตรงไหน
เมื่อใ้ห้ CG. เป็นจุดหมุน (สมมุติว่าจิ้มไม้เสียบลูกชิ้นไปที่จุด CG.) เครื่องบินที่มีความสมดุลย์ 100% ปีกของเครื่องบินต้องไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนหัวต้องไม่ก้มหรือเงยขึ้น
วิธีวัด ความสมดุลย์ในเครื่องบินเล็กทำได้หลายแบบ ส่วนใหญ่จะวัดเฉพาะ การก้มเงยเท่านั้น ส่วนการเอียงของปีกถ้า่ปีกซ้าย ขวา หนักไม่เท่ากัน นิดหน่อย ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยปีกเล็กแก้เอียง แต่ถ้าหนักกว่ากันมากๆ ก็ต้องปรับปรุงกันใหม่ ให้สมดุลย์ก่อน
ที่จำเป็นที่จะต้องวัด CG.คือ ความสมดุลย์ในแนวขนานกับพื้นโลก เมื่อวัด CG.แล้วเครื่องบินเล็กต้องไม่เงยหน้าขึ้น(หัวเบา)เด็ดขาด เพราะจะทำให้เราควบคุมเครื่องบินได้ยาก หรือควบคุมไม่ได้เลย ควจะให้เครื่องบินขนานกับพื้นโลก หรือหัวเครื่องบินก้มลงเล็กน้อย หรือก้มลงมากๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องบิน
การ Setup เครื่องบินฝึกปีกบนแบบ 4 แชลแนล
ก่อนจะสตาร์ทเครื่อง หรือเปิดแบตเตอรี่ ควร.......
1. ตรวจสอบ CG ของเครื่องบินก่อน ถ้าหัวเบาให้เลื่อน Batt มาข้างหน้าอีก อย่านำอุปกรณ์อื่นมาถ่วงหัวเครื่องบิน เพราะจะทำให้ น้ำหนักของเครื่องบินเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นเครื่องบินฝึกปีกบน ควร Set ให้ลำตัวขนานพื้น หรือก้มหัวเล็กน้อย
1. ตรวจสอบ CG ของเครื่องบินก่อน ถ้าหัวเบาให้เลื่อน Batt มาข้างหน้าอีก อย่านำอุปกรณ์อื่นมาถ่วงหัวเครื่องบิน เพราะจะทำให้ น้ำหนักของเครื่องบินเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นเครื่องบินฝึกปีกบน ควร Set ให้ลำตัวขนานพื้น หรือก้มหัวเล็กน้อย
2. ตรวสอบ Elevator ให้ 0 องศา ไม่ Up หรือ Down ไว้
เสียบแบตเตอรี่ หรือสตาร์ทเครื่องยนต์ ลองโยก Stick ทั้ง 4 แชลแนล ตรวขสอบว่าการขยับของ Aileron Elevator Rudder และใบพัด ขยับถูกต้องหรือไม่ ให้ผู้ที่บินเดี่ยวได้แล้วนำเครื่องบิน บินขึ้นและสังเกตุอาการ ของเครื่องบินดังนี้
1. เร่งเครื่องยนต์แล้ว ไม่สามารถควบคุมการเอียงของปีกได้ และหัวเครื่องบินเชิดขึ้นอย่างมาก แสดงว่า สมดุลย์ของเครื่องบินไม่ได้ หัวเครื่องบินเบา
2. เร่งเครื่องยนต์ขึ้น เครื่องบินจะไต่ระดับขึ้น ประมาณ 15 องศา แต่หากเร่งเครื่องแล้วหัวเครื่องบินเชิดขึ้นมากเกินไป แสดงว่ามุม Down thrust น้อยเกินไป
3. เครื่องบินไต่ระดับขึ้นได้ ให้ควบคุมเครื่องบินไต่ระดับไป สูงจากพื้นประมาณ 100 เมตร ลด Stick คันเร่งลงจนหมด ปล่อยให้เครื่องบินร่อน โดยที่ไม่ต้องควบคุม Elevator เครื่องบินจะต้องลดระดับเพดาน การบินลงมาอย่าง สมำ่เสมอ ช้าๆ ถ้าหัวเครื่องบิน ทิ่มลงมาอย่างรวดเร็ว แสดงว่าเครื่องบินหัวหนักเกินไป อย่า Timming Elevator UP ขึ้น เด็ดขาด ให้นำเครื่อง Landing และทำการเลื่อนแบตเตอรี่มาด้านหลังอีก เพื่อลดน้ำหนักส่วนหัว ไม่ให้หนักเกินไป
4. นำเครื่องบินบินขึ้นไปแล้ว ปีกเอียงซ้ายหรือขวา ทำให้เครื่องบินไม่สามารถบินตรงไปข้างหน้าได้ ให้ ทำการ Timming Aileron
5. เครื่องบิน บินแบลำตัวเอียงๆ ให้ Timming Rudder
ส่วนการ Setup เครื่องบินรูปแบบอื่น ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บิน และลักษณะ อาการการบินของเครื่องบินแบบนั้นๆ เช่นเครื่องบิน 3 D Set ให้หัวเบาหน่อย จะได้ Houvering ได้ง่ายๆ เครื่องบินประเภทความเร็ว สูง ต้อง set ให้หัวหนัก เพื่อควบคุมได้ง่าย ในขณะที่ความเร็ว สูงๆ เป็นต้น
การ Setup เครื่องบิน 2 แชลแนล
ทราบกันแล้วว่าเครื่องบินแบบ 2 แชลแนลเป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาให้มีราคาถูก กลไกไม่สลับซับซ้อน และการควบคุมก็ทำได้แค่ 2 อย่างคือ เร่ง/เบาเครื่อง และเลี้ยว ซ้าย/ขวา ก่อนบินต้องตรวจสอบก่อนว่าเครื่องบินที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว แบตเตอรี่วางอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้รึยัง ระวังอย่าให้แบตฯเลื่อนไปมาได้ เพราะจะส่งผลทำให้เครื่องบินควบคุมได้ยากขึ้น ลองยกเครื่องบินขึ้นจากพื้น เร่งเครื่อง มอเตอร์ทั้งสองข้างต้องให้แรงฉุดออกมามีความแรงเท่าๆ กัน
เมื่อเช็คว่าแรงขับของมอเตอร์ทั้ง 2 ลูก มีแรงฉุด เท่าๆกัน แล้ว เช็ค CG. แล้ว แบตเตอรี่ไม่ขยับไปมา ยางรัดปีก แน่นพอประมาณ
ต่อไปก็ต้องดูความแรงของลม และทิศทางของลมถ้าลมแรงจนทำให้ปลายริบบิ้น ที่ผูกอยู่ที่ปลายเสาวิทยุ สบัดแรงพอควร บอกได้เลยครับว่าไม่ควรบิน มือที่เก๋าแล้วอาจจะบอกว่าบินได้ บินสนุก แต่มือใหม่ไม่ควรบินเด็ดขาดครับ ถ้าลมเอื่อยๆ สบายๆ เร่งเครื่องให้สุด แล้วขว้างเครื่องบินสวนทางลมขึ้นไปในแนวขนานกับพื้น ไม่เชิดหัวจนเกินไป ควบคุมให้เครื่องบินบิน สวนลมไปข้างหน้าให้ตรงที่สุด จนกว่าเครื่องบินจะลอยตัวขึ้นไปสูงพอสมควร แล้วจึง ควบคุมให้เครื่องบินค่อยๆเอียง ซ้าย ตีวงเลี้ยวกว้างๆ แล้วบินตรงผ่านหน้า ประมาณ 50 เมตร ควบคุมให้เครื่องบินค่อยๆเอียง ซ้าย ตีวงเลี้ยวกว้างๆ เข้าสู่วงโคจรเดิม พยายามควบคุมให้อยู่ในเส้นทางการเดินทางนี้ อย่าปล่อยให้เครื่องบินบินสะเปะสะปะ .....
อาการที่ทำให้ เครื่องบิน 2 แชลแนลไม่สามารถบินจนครบรอบได้
เร่งเครื่องจนเต็มที่แล้ว เครื่องบินตรงไปข้างหน้าได้ดีมาก ไม่เอียงซ้ายหรือขวา แต่ไม่ยอมไต่ระดับขึ้นไป
แสดงว่าเครื่องบินของท่านมีความสมดุลของปีก และแนวการวาง Fin (ชุดหางหลังในแนวดิ่ง) ดีเยี่ยม แต่ที่เครื่องบินไม่ยอมไต่ระดับขึ้นอาจจะมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือหลายสาเหตุดังนี้
1. หัวเครื่องบินหนักเกินไป ลองจับ CG. ใหม่อีกครั้ง (วัดที่ CG.ตามคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องบิน) ถ้าหัวหนักให้เลื่อนแบต มาด้านหลังจนกว่าจะดีขึ้น แต่ระวังอย่าให้หัวเบานะครับ
2. มุมปะทะปีก หรือมุมเปิดปีก หรือมุม Incidence (วัดเทียบกับเส้น Test line) น้อยเกินไป ทำให้แรงยกน้อย เนื่องจากเครื่องบิน 2 แชลแนลไม่มี Elevator ที่คอยควบคุมการก้ม-เงย หัว จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดแรงยกที่ปีกมากๆ การเปิดมุมปะทะปีก ช่วยให้เกิดแรงยกที่ปีกเพิ่มขึ้น ให้หาไม้มาหนุนชายหน้าปีกให้เปิดเพิ่มขึ้น แต่อย่าให้เปิดมากเกินไปจนทำให้ ปีกเสียแรงยก เข้าสู่อาการ สตอล และตกลงมาได้
3. พลังงานจากแบตเตอรี่อ่อน ทำให้แรงฉุดจากมอเตอร์มีน้อย ลองเปลี่ยนแบตก้อนที่ชาร์ตเต็มแล้วดูครับ
4. ท่านอาจจะปล่อยเครื่องบินให้ ขึ้นตามลม ลองดูทิศทางลมให้แน่ใจอีกครั้ง บางครั้งลมจะเปลี่ยนทิศไปมาอยู่เสมอ แรงลมจะช่วยยกเครื่องบินขึ้นได้ง่าย ทำให้มือใหม่ สามารถนำเครื่องบินขึ้นบินได้ไม่ยาก
5. ไส่ใบพัดกลับด้าน เพราะเครื่องบิน 2 แชลแนล บางลำที่ออกแบบให้มอเตอร์หันไปข้างหลัง แล้วใช้ลมผลัก ถ้านำใบชนิดนี้มาไส่มอเตอร์ ที่ออกแบบให้ติดที่ชายหน้าปีกต้อง กลับด้านใบเอาด้านหลังใบ ให้หันไปด้านหน้า
ปล่อยเครื่องบินออกไปแล้ว เครื่องเอียงซ้ายหรือขวา เกินไป
สาเหตุมาจากหลายอย่าง และอาการนี้เองที่ทำให้ท่านมือใหม่ทั้งหลาย ต้องถอดใจเลิกบินไปเลยก็มี ทำยังไงก็บินไม่ได้ สาเหตุมีหลายอย่างครับ ลองดูว่าน่าจะเป็นข้อไหน
1. แรงฉุดจากใบพัด ให้ออกมาไม่เท่ากัน เนื่องจาก ใบพัดคนละยี่ห้อ หรือคนละแบบ ไส่ใบพัดข้างใดข้างหนึ่งกลับด้าน ก็กลับใบพัดให้ถูกต้อง แล้วลองเร่งเครื่องดูอีกครั้ง
2. มอเตอร์ทั้งสองลูกมีความเร็วรอบไม่เท่ากัน อาจจะเป็นความบกพร่องจากผุ้ผลิต ถ้าความเร็วรอบต่างกันมากๆ ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งคู่ หรือหากต่างกันเล็กน้อย ให้ขยับปีกด้านที่มอเตอร์มีแรงน้อยออกห่างลำตัวเพิ่มขึ้น ก็จะพอแกไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
3. ปีกเครื่องบินสองข้างหนักไม่เท่ากัน ลองวัดดูว่าข้างใดเบากว่า ให้หาวัสดุมาถ่วงที่ปลายปีก จนกว่าปีกจะสมดุลย์
4. ท่านอาจจะนำเครื่องบินบินขึ้นขวางลม ตรวจสอบทิศทางลมให้แน่ใจอีกครั้ง แล้วจึงปล่อยเครื่องบินบินขึ้น ตรงข้ามกับทิศทางลม อาการเอียงซ้ายหรือขวาอาจจะหายไป
5. เครื่องบินอาจจะมีอาการไม่สมดุลย์เล็กน้อย แต่นักบินโยกสติคซ้ายขวาให้มอเตอร์เบาหรือดับ นานเกินไปทำให้เครื่องบินเอียงซ้ายหหรือขวามากเกินไป จึงดูเหมือนเครื่องบินบินเอียง แก้ไขโดยการโยก สติคซ้ายหรือขวา เพียงแค่ให้ปีกของเครื่องบินเอียงตามที่สายตามองเห็น แล้วปล่อยให้สติค คืนกลับมาที่จุดศูนย์กลางเอง เมื่อเห็นว่าเครื่องบินยังเลี้ยวไม่พอ ให้โยก สติคใหม่อีกครั้ง ดูด้วยสายตาว่าเครื่องบินเริ่มเลี้ยวหรือยัง เมื่อเครื่องเริ่มเอียง ให้คืนสติคมาตรงกลางเหมือนเดิม ลักษณะการโยคสติคของเครื่องบิน 2 แชลแนลให้ ทำในลักษณะนี้